คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

Answer

โครงการที่ต้องจัดทำรายงานฯ เป็นโครงการที่ผ่านการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) หรือโครงการที่ผ่านการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE)

Answer

จำเป็นต้องทำเนื่องโครงการที่ผ่านการพิจารณาEIA หรือ IEE ล้วนเป็นโครงการที่รัฐบาลมองว่าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามมาตรการที่ระบุ ไว้ในรายงานฯ จะเกิดผลดีต่อตัวโครงการเองและสิ่งแวดล้อมโดยรวม

Answer

มีโทษปรับ และ จำคุก ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2561 กำหนดไว้ในมาตราที่ 101/2 ว่า “ผู้ดำเนินการหรือผู้ขออนุญาตผู้ใดไม่นำส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 51/5 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท” นอกจากนี้มาตรา 110/2 ระบุว่า “บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดที่มีโทษปรับหรือจำคุกไม่เกิน สองปี ให้คณะกรรมการเปรียบเทียบมีอำนาจเปรียบเทียบได้”

Answer

เมื่อโครงการผ่านการพิจารณาEIA หรือ IEE จะได้รับหนังสือเห็นชอบ ซึ่งจะระบุมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ไว้ ให้โครงการปฏิบัติตาม แล้ว

Answer

มาตรการที่ระบุไว้ไนหนังสือเห็นชอบนั้น จะมีการลงนามรับทราบของเจ้าของโครงการ หรือผู้รับมอบอำนาจจากโครงการ แล้ว แสดงว่าสามารถปฏิบัติได้จริง ฉะนั้นต้องดำเนินการให้ครบตามมาตรการที่ระบุไว้ เว้นแต่หากทางโครงการเห็นว่าไม่สามารถทำได้ หรือมีมาตรการที่ดีกว่า สามารถทำหนังสือขอเปลี่ยนแปลงมาตรการไปยังหน่วยงานอนุมัติได้

Answer

ไม่เหมือนกัน เนื่องจากสิ่งแวดล้อมต่างที่กันผลกระทบก็จะต่างกัน แม้ว่าโครงการ จะเหมือนกันก็ตาม

Answer

ต้องดูในหนังสือเห็นชอบว่าระบุว่าต้องให้ third party จัดทำรายงานฯ หรือไม่ หากไม่ได้ระบุ โครงการสามารถดำเนินการเองได้ แต่อย่างไรก็ตามการตรวจวัดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต้องให้ third party

Answer

โดยปกติ จะส่งรายงาน 2 ฉบับ /ปี คือ ฉบับเดือน มกราคม – มิถุนายน ส่งรายงานภายในเดือน กรกฎาคม และ ฉบับเดือน กรกฎาคม – ธันวาคม ส่งรายงานภายในเดือน มกราคม ของปีถัดไป

Answer

ทำไปตลอดระยะเวลาที่โครงการเปิดดำเนินการ

Answer

ของเสียคือ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเสีย อากาศเสีย มลสารหรือวัตถุอันตรายอื่นใดซึ่งถูกปล่อยทิ้งหรือมีที่มาจากแหล่งกำเนิดมลพิษรวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นมีทั้งที่อยู่ในสภาพของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ

Answer

น้ำทิ้งคือน้ำโสโครกที่ผ่านการใช้ประโยชน์แล้วจากกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ เช่น น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม และโรงงานอุตสาหกรรม

Answer

น้ำทิ้งจากโรงงานเป็นน้ำโสโครกที่มีอันตรายเพราะมีกากสารพิษได้แก่ โลหะหนัก น้ำมัน และสารละลายเจือปนอยู่

Answer

สารอินทรีย์คือ สารที่ประกอบด้วยไขมัน น้ำมัน และโปรตีน

Answer

สารอินทรีย์เป็นสิ่งปฏิกูลตัวสำคัญที่ทำให้เกิดความเน่าเสียขึ้นกับแหล่งน้ำทำให้น้ำเน่า มีกลิ่น หรือมีสีดำคล้ำ

Answer

จุลินทรีย์ คือ ชีวิตเล็กๆ ที่อยู่ในน้ำ หน้าที่ของจุลินทรีย์ก็คือการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยการใช้ออกซิเจนเข้ามาช่วย ดังนั้น ปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำยิ่งเพิ่มขึ้นเท่าใดจุลินทรีย์ก็จะดึงออกซิเจนมาช่วยในการย่อยสลายมากขึ้นเท่านั้นและการนำเอาออกซิเจนมาใช้มากเกินไป ทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ขาดแคลนออกซิเจนกลายเป็นแหล่งน้ำเสีย

Answer

บีโอดี เป็นคำศัพท์ที่ย่อมาจากคำว่า Biochemical Oxygen Demand เป็นค่าที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้ปริมาณของความสกปรกของน้ำทิ้งเป็นตัววัด

Answer

ค่าของบีโอดีจะแสดงถึงปริมาณของออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ ถ้าน้ำทิ้งมีสารอินทรีย์สูง มีปริมาณของออกซิเจนที่ถูกจุลินทรีย์ดึงไปใช้ ในการย่อยสลายก็สูงค่าบีโอดีน้ำนั้นก็จะสูงด้วย

Answer

ค่าบีโอดีบอกถึงความเน่าเสียของน้ำ นั่นคือค่าบีโอดียิ่งสูงก็หมายถึงความเน่าเสียของน้ำในแหล่งน้ำนั้นยิ่งมากขึ้นด้วย

Answer

การบำบัดน้ำเสียคือกระบวนการฟื้นฟูคุณภาพความสะอาดให้กับน้ำที่ผ่านการใช้มาแล้ว

Answer

มี 4 ประเภทคือ
1. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางกายภาพ
2. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางเคมี
3. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางชีววิทยา
4. การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการทางฟิสิกส์เคมี

Answer

สารมลพิษ ในอากาศที่สำคัญที่มีอันตรายต่อมนุษย์โดยตรง ได้แก่ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอนและตะกั่ว

Answer

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ถ่านหิน การผลิตน้ำมันปิโตรเลียม กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขึ้นสู่อากาศมากที่สุด คือการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล

Answer

ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากโรงงานอุตสาหกรรมและจากรถยนต์

Answer

ก๊าซไนโตรเจนออกไซด์และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะทำลายเนื้อเยื่อปอด และเป็นสาเหตุของโรคระบบทางเดินหายใจ

Answer

เมื่อใดก็ตามที่ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ได้สัมผัสกับความชื้นในบรรยากาศก็จะเกิดปฏิกิริยากลายเป็นกรดซัลฟูริคและกรดไนตริค ถ้าความชื้นไม่มากนักก็จะเป็นกรดที่แห้งและมีขนาดเล็กแต่ในความชื้นสูงจะทำให้เกิดเป็นฝนกรดตกลงสู่พื้นโลกเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

Answer

โดยทั่วไปแล้วแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในเขตควบคุมมลพิษ เช่น พัทยา ภูเก็ต หัวหิน จะมีระบบบำบัดน้ำเสีย

Answer

การแบ่งเกณฑ์คุณภาพน้ำใช้ ดัชนีคุณภาพน้ำ ซึ่งเกณฑ์คุณภาพน้ำแบ่งได้เป็น 4 เกณฑ์ ได้แก่ ดีมาก ดี เสื่อมโทรม และเสื่อมโทรมมาก ซึ่งจะใช้คะแนนเป็นตัวแบ่งซึ่งได้มากจากการรวมคะแนนดัชนีคุณภาพน้ำ 9 ดัชนี ได้แก่ pH, ออกซิเจนละลายน้ำ (DO), ของแข็งทั้งหมด (TDS), แบคทีเรียกลุ่มฟีคัล (Feacal Coliform), ไนเตรท (NO3), ฟอสเฟต (PO4), ความขุ่น (Turbidity), อุณหภูมิ และ BOD เข้าด้วยกัน

Answer

แหล่งกำเนิดน้ำเสียที่สำคัญสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 3 ประเภทได้แก่
ชุมชน
อุตสาหกรรม
เกษตรกรรม

Answer

อุณหภูมิ: ควรอยู่ระหว่าง 23 – 32 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง อยู่ระหว่าง 5 – 9 หน่วย
ค่าความเค็มของน้ำ: ปกติแหล่งน้ำจะเริ่มมีรสเค็มที่ระดับความเค็มประมาณ 0.5 ppt ซึ่งเริ่มไม่เหมาะจะนำมาใช้เพื่อการประปา ขณะที่ความเค็มประมาณ 1 ppt ไม่เหมาะจะนำมาใช้เพื่อการชลประทาน นอกจากนี้ ค่าความเค็มมีค่าเกินกว่า 7 ppt จะไม่เหมาะต่อการเพาะเลี้ยงและการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำจืด

ปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำ (Suspended Solid, SS): แหล่งน้ำที่ให้ผลผลิตทางการประมงที่ดีควรมีค่าแขวนลอยอยู่ในช่วง 25-80 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้ามีค่ามากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อลิตร มักจะใช้เลี้ยงปลาไม่ได้ผล นอกจากนี้ แหล่งน้ำที่เหมาะจะนำมาใช้ สำหรับการผลิตน้ำประปาโดยตรง ควรมีค่าสารแขวนลอยไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อลิตร

ค่าออกซิเจนละลาย (DO): แหล่งน้ำที่เหมาะแก่การดำรงชีวิต การขยายพันธุ์และการอนุรักษ์สัตว์น้ำ ควรมีค่า DO ไม่ต่ำกว่า 5 มก./ลิตร อย่างไรก็ตาม ถ้าปริมาณออกซิเจนละลายน้ำมีค่าต่ำกว่า 2 มก./ลิตร จะไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ และถ้าไม่มีปริมาณ DO จะเกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย

ค่าความขุ่นของแหล่งน้ำ: แหล่งน้ำโดยทั่วไปไม่ควรมีค่าความขุ่นเกินกว่า 100 NTU เพราะจะส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสัตว์และพืชน้ำ นอกจากนี้ จะมีผลต่อระบบการผลิตน้ำประปาที่ต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับสารเคมีในการกำจัดตะกอนของน้ำ

ฟีคอลโคลิฟอร์ม (Feacal Coliform ): แหล่งน้ำที่เหมาะจะนำมาใช้ในการผลิตประปาและสามารถว่ายน้ำหรือเล่นกีฬาทางน้ำไม่ควรมีค่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มเกินกว่า 1,000 หน่วย ( mpn ต่อ 100 มิลลิลิตร) ขณะที่แหล่งน้ำที่เหมาะจะอนุรักษ์ไว้เพื่อสำหรับกิจกรรมการเกษตรกรรม ไม่ควรมีค่าปริมาณแบคทีเรียกลุ่มฟีคอลโคลิฟอร์มเกินกว่า 4,000 หน่วย

ฟอสเฟต: โดยทั่วไปปริมาณฟอสฟอรัสที่จะก่อปัญหาต่อแหล่งน้ำจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไนโตรเจนเสมอ โดยฟอสฟอรัสจะเป็นปัจจัยหลักและมีไนโตรเจนเป็นปัจจัยรอง และแหล่งน้ำที่มีค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดอยู่ระหว่าง 0.05 – 1 มก./ลิตร หรือมากกว่า และแหล่งน้ำเสื่อมโทรมมักมีค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดเกินกว่า 0.6 มก./ลิตร ขึ้นไป

ไนเตรท: โดยทั่วไปปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจน จะเปลี่ยนรูปมาจากแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ในแหล่งน้ำ โดยแบคทีเรียกลุ่ม autotrophic nitrifying ซึ่งแหล่งน้ำที่มีความสกปรกสูงและมีการปนเปื้อนอย่างสม่ำเสมอมักตรวจพบไนเตรท-ไนโตรเจนในปริมาณสูง แหล่งน้ำที่ตรวจพบปริมาณไนเตรท-ไนโตรเจนสูงย่อมแสดงว่ามีการปนเปื้อนจากของเสียหรือสิ่งสกปรกจากชุมชน หรือมีการชะล้างหน้าดินในพื้นที่เกษตรกรรมในปริมาณสูง ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการนำน้ำมาใช้ในการบริโภคหรือการผลิตน้ำประปา ทำให้เกิดโรคระบบโลหิต เรียกว่า Methemoglobinemia อย่างไรก็ตามค่าเหล่านี้เป็นเพียงค่าเบื้องต้นเท่านั้น ถ้าต้องการดูอย่างละเอียดต้องไปดูที่มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน กรมควบคุมมลพิษ ปี 2543

Answer

โรคที่เกิดจากการอุปโภคบริโภคน้ำเสียมีสาเหตุมาจาก
เชื้อโรค เช่น โรคอหิวาตกโรค ท้องร่วง ไทฟอยด์ และโรคผิวหนัง
สารพิษ เช่น อิไต อิไต (จากแคดเมียม) มะเร็ง (จากสารหนูและยาฆ่าแมลง) และ มินามาตะ (จากปรอท)
โลหะหนัก เช่น ท้องร่วง

Answer

น้ำเสียที่บำบัดแล้วในระดับหนึ่ง เช่น น้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียจากชุมชน หรือโรงงานอุตสาหกรรมบางประเภท สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเกษตร ยกตัวอย่างเช่น น้ำเสียที่เทศบาลนครเชียงใหม่ได้นำไปใช้ในการเพาะปลูกในช่วงประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะพืชผักและไม้ดอกมาเจริญเติบโตได้ดีและมีการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าผลผลิตปลอดภัย หลายประเทศได้มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย เช่น จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น ดร.เสนีย์ กาญจนวงศ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สรุปผลการวิจัยการนำน้ำเสียไปใช้ในการเกษตรในการปลูกข้าว ผักคะน้า และดอกแอสเตอร์นั้น ให้ผลในการเจริญเติบโตของพืชไม่แตกต่างจากการใช้น้ำธรรมชาติ และมีการวิเคราะห์ว่าปลอดภัยสามารถนำไปบริโภคได้

Answer

มีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภค
เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำและในบริเวณใกล้เคียง ทำให้เสียความสมดุลทางธรรมชาติ เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เพราะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และเป็นพาหนะนำโรคต่าง ๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช
ทำลายทัศนียภาพ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใช้ในการคมนาคมและแหล่งท่องเที่ยว
เป็นปัญหาต่อกระบวนการผลิตน้ำประปา ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพิ่มมากขึ้น

Answer

คุณภาพน้ำสามารถสังเกตได้จาก สี กลิ่น ความขุ่น อุณหภูมิ และจากตัวชี้วัดทางชีวภาพ นั่นคือ น้ำที่มีคุณภาพดีต้องใส ปราศจากสี และกลิ่น แหล่งน้ำใดที่มีความขุ่นสูง ย่อมแสดงว่ามีการส่องผ่านของแสงน้อย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากตะกอนดิน สาหร่าย หรือสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่แขวนลอยในน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตได้จาก สัตว์น้ำซึ่งอาจอยู่ในแหล่งน้ำสะอาดเท่านั้น อาทิเช่น แมลงน้ำตก แมงชีปะขาว หนอนปลอกน้ำ เป็นต้น

การสังเกตด้วยตาเปล่าสามารถบอกถึงคุณภาพน้ำได้คร่าว ๆ เท่านั้น ซึ่งบางครั้งการใช้คุณลักษณะใด ลักษณะหนึ่งไม่สามารถบอกได้ เช่น น้ำใสไม่มีสีอาจจะเจือปนไปด้วยกรด ซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่มีสีเช่นกัน และสามารถบอกถึงคุณภาพน้ำได้จากการวัดค่าความเป็นกรด – ด่าง เท่านั้น ดังนั้นการชี้วัดคุณภาพน้ำจึงควรกระทำโดยใช้ตัวชี้วัดหลายตัวอย่างร่วมกัน

Answer

เนื่องจากในน้ำเสียมีสารอินทรีย์ไนโตรเจน (Org-N) และเกิดปฏิกิริยา Nitrification ขึ้นระหว่างกระบวนการบำบัด โดยจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน เปลี่ยนแอมโมเนียม (NH 4+) เป็นไนไตรท์ (NO2-) และไนเตรท (NO3-) ตามลำดับ

Answer

ต้องตรวจสอบพารามิเตอร์ต่างๆ ของน้ำที่ปล่องน้ำเสีย หากน้ำทิ้งนั้นผ่านค่ามาตรฐานก็ถือว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามที่มาตรฐานกำหนดได้ค่ะ แต่หากน้ำทิ้งนั้นไม่ผ่านค่ามาตรฐานก็ต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการบำบัดของระบบ

Answer

การที่ปลาตายและน้ำมีสีเขียวขุ่นอาจสันนิษฐานได้ว่า
มีสาหร่ายปริมาณมากเกินไปในน้ำทิ้ง ส่งผลต่อค่าออกซิเจนลดต่ำลงเวลากลางคืน ทำให้มีปลาตายอยู่ในน้ำคูคลอง
มีสารเคมีหรือสารพิษปนเปื้อน

Answer

วิธีแก้ไข ถ้าบ่อไม่ใหญ่ก็อาจสูบออกโดยให้นำน้ำส่วนที่เสียไปเข้าระบบที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย หลังจากนั้นคงต้องปรับสภาพทางกายภาพให้สะอาด และห้ามทิ้งน้ำเสียลงในบ่ออีก รองรับเฉพาะน้ำฝนหรือน้ำจากแหล่งน้ำที่สะอาด หรืออาจมีการเติมอากาศด้วยเครื่องเติมอากาศ หรือทำน้ำพุเพื่อความสวยงาม คุณภาพน้ำก็จะดีขึ้นและสามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ถ้าบ่อใหญ่มากคงต้องค่อยๆ ทำโดยกันน้ำเสียไม่ให้เข้าบ่ออีก ทำความสะอาดทางกายภาพ และต้องมีการเติมอากาศด้วยเครื่องเติมอากาศ ปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ฯลฯ โดยทำอย่างต่อเนื่องและสังเกตความเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้วิธีที่ว่าไม่รวมถึงการปนเปื้อนของสารเคมีหรือโลหะหนักต่างๆ ในน้ำ (ถ้ามี) ซึ่งต้องระวังในการนำไปใช้ประโยชน์ด้วย

Answer

ถ้าสามารถปรับปรุงระบบ ได้ใน 2 ลักษณะ คือ
การเพิ่ม HRT อาจทำได้โดย ปรับปรุงให้ระบบมีการไหลแบบ Plug Flow กล่าวคือ อาจทำคันดินในบ่อเพิ่มขึ้นเพื่อให้การไหลเวียนของน้ำในระบบยาวนานขึ้น
หากสามารถเพิ่มเติมระบบบำบัดฯที่ทำให้ คุณภาพน้ำเสีย ดีกว่าเดิมที่คำนวณไว้ตอนขาเข้าระบบ อาจทำให้ HRT ที่มีอยู่เพียงพอ ทั้งนี้ควรนำรายละเอียดในการออกแบบประกอบกับลักษณะน้ำเสียจากโรงงาน มาพิจารณาประกอบว่าวิธีการใดจะเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิคและด้านเศรษฐศาสตร์กว่ากัน

Answer

ระบบบำบัดน้ำเสียทั่วไปมักได้รับ การออกแบบไว้เผื่อการขยายตัวเป็นระยะเวลา 20 ปี ทำให้บ่อมีขนาดใหญ่มีเวลาเก็บกักน้ำเสียนาน และเกิดสาหร่ายเจริญมาก (Algae Bloom) แม้สารเคมีที่สามารถกำจัดสาหร่ายได้จำพวก CuSO4 แต่มักใช้ในกระบวนการผลิตน้ำบางประเภทไม่นิยมใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เพราะต้องใช้เป็นจำนวนมากและยังรบกวนกระบวนการบำบัดทางชีวภาพ ปัญหานี้ควรปรับปรุงด้วยการเดินระบบฯ ให้ระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียสั้นลง เช่น ลดผนังกั้นน้ำหรือระดับฝายน้ำล้นหรือหมุนเวียนน้ำในระบบบำบัด และกำจัดปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญของสาหร่าย เช่น การบังแสงแดด เป็นต้น

Answer

บ่อตกตะกอนสามารถขุดตะกอนออกได้ทั้งหมด สำหรับบ่อแอนแอโรบิคควรมีตะกอนเหลืออยู่ปริมาณที่มีค่า F/M (Food/Microorganism) ประมาณ 0.1-0.2

Answer

จุดประสงค์หลักในการลดกลิ่นและลดไขมัน แต่ไม่ได้ใช้งานหลักในการบำบัดน้ำเสีย